top of page
รูปภาพนักเขียนGLOME PET

การผสมพันธุ์สัตว์เลี้ยงของคุณ

การผสมพันธุ์สัตว์เลี้ยงของคุณ ตามหลักการวิชาการทั่วไปในการผสมพันธุ์คือ เราไม่ควรที่จะผสมพันธุ์สุนัขที่มีสายเลือดใกล้ชิดกันจนเกินไป เช่น พ่อ หรือ แม่กับลูก ซึ่งเรียกว่า การผสมในสายสัมพันธ์ เพราะจะทำให้ลูกสุนัขที่เกิดขึ้นรวบรวมเอาสิ่งที่ไม่ดีจากสายเลือดให้มีมากขึ้น เช่น โรคต่างๆ ความไม่แข็งแรงของอวัยวะบางส่วน ตามกฎของเมนเดลการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นต้น


การผสมพันธ์ุสุนัขในสายเลือดเดียวกัน

การผสมพันธุ์ที่อยู่ในสายเลือดเดียวกันก็มีผลดีที่ว่าสามารถได้ลูกสุนัขที่ออกมาใกล้เคียงกันกับบรรพบุรุษมากที่สุด ในหลักการนี้ต้องไม่ใกล้ชิดกันเกินไปอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  อย่างน้อยต้องห่างกัน 2 ขั้น เช่น  ลูกสุนัขรุ่นหลาน อาจจะผสมกับรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ก็ได้ โดยหลักการนี้ทางคอกหรือฟาร์มทั่วไป นิยมทำกัน เนื่องจากจะได้ลูกสุนัขที่มีสายเลือดดีอย่างที่ต้องการ หรือในการผสมพันธุ์กับสุนัขตัวอื่นๆ ที่ไม่ใช่สุนัขในคอกเลย ก็สามารถทำได้โดยที่แทบไม่ต้องกังวลเลยว่า จะมีสายเลือดใกล้ชิดกันแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดูใบประวัติกันหน่อยว่าไม่ใช่สายเลือดเดียวกัน พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ สุนัขตัวผู้จะแสดงอาการกระตือรือร้นในเรื่องเพศ เมื่ออายุประมาณ 6 ถึง 8 เดือน แต่ควรรอให้สุนัขโตเต็มที่คือเมื่อ อายุประมาณ 1 ปี ขึ้นไป ควรบำรุงสุนัขพ่อพันธุ์ให้กินอาหารที่มีโปรตีนมากๆเช่น เนื้อหรือไข่ และต้องออกกำลังกายสม่ำเสมออย่าให้อ้วนหรือผอมเกินไป


เมื่อสุนัขตัวผู้แข็งแรงก็จะผลิตตัวอสุจิที่แข็งแรงจะได้ผสมกับไข่จำนวนมากขณะที่เป็นสัด ทำให้ได้ลูกครอกใหญ่ ส่วนสุนัขตัวเมียที่จะทำการผสมพันธุ์นั้นควรมีสุขภาพที่แข็งแรง เพราะถ้าร่างกายของแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์ก็จะมีผลส่งให้ลูกสุนัขโดยตรง จึงควรบำรุงแม่พันธุ์ให้ดีได้รับสารอาหารครบถ้วน เช่นโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ โดยเฉพาะวิตามินอี ที่มีผลต่อการผสมพันธุ์ สุนัขตัวเมียที่เริ่มเป็นสัดครั้งแรกนั้นไม่ควรให้มีการผสมพันธุ์ เพราะความสมบูรณ์ของร่างกายยังไม่พร้อม และจะทำให้ร่างกายของสุนัขเองเกิดการชะงักในการเจริญเติบโต และก่อนการผสมพันธุ์ควรดูแลให้พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์มีความสมบูรณ์และได้รับการถ่ายพยาธิและฉีดวัคซีนให้ครบถ้วนเพื่อให้ลูกสุนัขได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ด้วย


การเป็นสัด

การเป็นสัด การเป็นสัดของสุนัขบางแก้วโดยปกติจะเป็นปีละครั้ง แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของสุนัขเองด้วยว่า มีความสมบูรณ์เพียงใด เพราะสุนัขที่มีความสมบูรณ์มากก็สามารถเป็นสัดได้ปีละ 2 ครั้งก็มี ระยะการเป็นสัดของสุนัข ประมาณ 3 สัปดาห์ ลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงการเป็นสัดของสุนัขสังเกตุได้ที่อวัยวะสืบพันธุ์ตัวเมียเริ่มบวมขึ้นและมีน้ำเมือกที่มีเลือดปนออกมาหลังจากนั้นสุนัขตัวเมียก็จะแสดงอาการขี้เล่นกับตัวผู้เพื่อที่จะแสดงว่าพร้อมในการผสมโดยจะบิดหางไปด้านข้างและยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ แต่ในช่วงที่ไม่มีน้ำเมือกไหลออกมาแล้ว และอวัยวะสืบพันธุ์ยุบลงด้วยแสดงว่าหมดระยะของการเป็นสัด  สุนัขตัวเมียก็จะไม่ยอมให้สุนัขตัวผู้ผสมพันธุ์แล้ว

การผสม การผสมพันธุ์ควรเริ่มผสมประมาณวันที่ 10 ถึง 14 หลังจากเริ่มเป็นสัด การผสมอาจทำเพียงครั้งเดียวก็พอ แต่ถ้าต้องการให้ได้  ผลที่แน่นอนก็ผสมสองครั้งห่างกัน 24 ชม. การผสมพันธุ์นั้นตัวผู้จะขึ้นคร่อมตัวเมีย หลังจากนั้นเมื่อผสมเสร็จแล้วอวัยวะของตัวผู้จะค้างอยู่ประมาณ 20-30 นาที หรือที่เรียกว่า ติด เพื่อให้น้ำเชื้อเข้าสู่มดลูก หลังจากนั้นก็จะหลุดออกมาเองโดยอัตโนมัติ

การตั้งท้อง

การตั้งท้อง การตั้งท้องนั้นหลังจากผสมพันธุ์แล้วประมาณ 1 เดือน ถ้าสุนัขท้องจะเห็นเต้านมขยายใหญ่ขึ้น หัวนมจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูต่อมาบริเวณช่องท้องชายโครงจะกางออกเห็นท้องได้ชัดเจน เมื่อท้องได้ประมาณเดือนครึ่ง แม่สุนัขจะเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น นิสัยจะสงบลง  ไม่กระโดดโลดเต้น กินอาหารมากขึ้น นอนมากขึ้น หามุมสงบเพื่อนอนพักผ่อน ระยะนี้ไม่ควรไล่จับสุนัข หรืออาบน้ำเพราะร่างการสุนัขจะมีการปรับอุณหภูมิอย่างกะทันหันมีผลทำให้สุนัขเกิดการแท้งได้ ถ้าสุนัขสกปรกมากจริงๆ ก้อาจทำได้โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นๆ เช็ดก็พอ ในระยะนี้ควรให้อาหารที่มีคุณภาพดีและ ปริมาณที่เพียงพอสำหรับแม่สุนัขและลูกด้วย และเมื่อใกล้คลอดประมาณ 7 วันจะต้องให้อาหารโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันและวิตามิน โดยให้อาหารเพิ่มจากเดิมประมาณ 20 % เพราะระยะนี้ลูกสุนัขในท้องจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว



ที่มารูปภาพ : freestocks.org (Unsplash)


การคลอด

การคลอด ก่อนสุนัขจะคลอด เจ้าของควรจัดเตรียมสถานที่คลอดเอาไว้ให้พร้อม อาจใข้ผ้าหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ปูไว้หลายชั้น และ หัดให้แม่สุนัขนอนในที่ที่จัดไว้ให้ สุนัขบางแก้วนั้นจะตั้งท้องประมาณ 2 เดือนก่อนครบกำหนดคลอดประมาณ 15 วันแม่สุนัขจะเริ่มเบื่ออาหาร พยายามขุดรูหรือโพรงเพื่อจัดเตรียมที่คลอด ในกรณีที่เลี้ยงในกรง แม่สุนัขก็สามารถทำได้เพียงตะกุยผ้าหรือกระดาษที่เจ้าของเตรียมไว้ให้เท่านั้น  อาการที่แสดงให้เห็นว่าใกล้จะคลอดแล้วนั้นก็จะมีหัวนมขยายใหญ่ขึ้น มีน้ำนมไหลซึมเมื่อลูกสุนัขออกมา วรทำและมีน้ำเมือกใสๆซึมออกมาทางช่องคลอดด้วยเมื่อถึงกำหนด คลอดแม่สุนัขจะนอนเบ่งในที่ที่เตรียมไว้ประมาณ ครึ่งหรือ หนึ่งชม. จะเห็นลูกสุนัขตัวแรก

คลอดออกมาโดยถุงน้ำคร่ำจะโผล่ออกมาก่อนส่วนใหญ่แล้วลูกสุนัขจะคลอดโดยเอาหัวออกมาก่อนพร้อมกับรกซึ่งมีสายสะดือติดอยู่ ปกติแล้วแม่สุนัขจะกัดถุงน้ำคร่ำและสายสะดือออกเองพร้อมกับเลียตัวลูกให้สะอาด แต่ถ้าแม่สุนัขไม่ทำหรือไม่สามารถทำได้ผู้ที่ดูแลควรช่วยฉีกถุงน้ำคร่ำแล้วเอาหัวลูกสุนัขออกก่อนและเช็ดน้ำเมือกที่หน้าให้สะอาดก่อน แล้วจึงค่อยทำในบริเวณอื่นตามลำดับการเช็ดบริเวณต่างๆ เพื่อกระตุ้นการหายใจ การหายใจจะเริ่มขึ้นทันทีโดยสังเกตุจากการร้อง ถ้าลุกสุนัขไม่ร้องให้จับลุกสุนัขเอาหัวลงเพื่อให้น้ำและของเหลวในปากออกให้หมด ตอไปจึงจัดการตัดสายสะดือและมัด ทั้งนี้ควรใช้อุปกรณ์ที่สะอาด และนำลูสุนัขไปรับน้ำนมจากแม่สุนัข  น้ำนมในระยะแรกนี้เรียกว่า น้ำนมเหลือง น้ำนมนี้มีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆได้อย่างดี เมื่อลูกสุนัขตัวแรกคลอดออกมาแล้วหลังจากนั้นก็จะมีตัวอื่นๆ ตามมาโดยทิ้งระยะ ห่างแต่ละตัวไม่แน่นอนตั้งแต่ 10 นาที ถึง 30 นาที สุนัขบางตัวใช้เวลาในการคลอดไม่ถึงชั่วโมง แต่บางตัวอาจนานกว่านั้น และจำนวนลูกสุนัขนั้นก็จะมีจำนวนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแม่สุนัขด้วย


การหย่านม

การหย่านม เมื่อลูกสุนัขอายุได้ 2 สัปดาห์ควรจะลืมตาแล้ว แต่ถ้ายังไม่ลืมตาก็ควรใช้น้ำอุ่นล้างตาเบาๆ และเมื่ออายุได้ 3 สัปดาห์ก็เริ่ม กินอาหารอื่นได้นอกจากน้ำนม แต่ทางที่ดีก็ควรให้ลูกสุนัขกินน้ำนมของแม่อยู่เพื่อภูมิคุ้มกัน ที่ดีจนกว่าจะมีฟันที่พอจะสามารถกินอาหารอื่นได้ แม่สุนัขจะเลี้ยงดูลูกอยู่ประมาณ 35 ถึง 42 วัน บางครั้งอจถึง 50 วัน แต่ลูกสุนัขควรหย่านมเมื่อมีอายุประมาณ 1 เดือน การหัดให้หย่านมคือหการให้กินอาหาร ซึ่งมีน้ำ นมหรือน้ำหวานปนอยู่ด้วย จากนั้นก็ค่อยๆเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้นและลดในเรื่องของนมและน้ำหวานลง และเมื่อลูกสุนัขอายุ 2-4 สัปดาห์ก็ควร ทำการถ่ายพยาธิครั้งแรก

การทำหมัน

การตอน การตอนนั้นทำได้ทั้งสุนัขตัวผู้และตัวเมีย การทำหมันในสุนัขตัวเมียนั้นควรทำในระยะที่อยูในวัยสาวคือ อายุประมาณ 6-8 เดือน เป็นวัยที่สุนัขมีมดลุกที่โตเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์ถ้าไม่ต้องการให้ผสมพันธุ์ก็จัดการคทำหมันเสีย แต่ถ้าต้องการทำหมันหลังจากนี้ก็ต้องทำในช่วงที่ไม่เป็นสัดหรือไม่ตั้งท้อง หากอยู่ในช่วงให้นมลูกควรทำหมันเมื่อลูกหย่านมแล้ว วิธีการทำหมันก็ทำโดยการผ่าตัดเอารังไข่และมดลูกออกให้หมด ส่วนสุนัขตัวผู้นั้นจะทำหมันหรือไม่ทำก็ได้ แต่ในเรื่องการทำหมันควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง

ดู 8,033 ครั้ง

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comentários


bottom of page